แมตตี้.. โจ.. หรือใครกันแน่!? 🧐
.
🎶 เรียกได้ว่าเป็นกระแสฮือฮามากเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังแม่เทย์กระหน่ำปล่อยผลงาน 2 อัลบั้ม 31 เพลง ในความยาวเพลงละ 3-5 นาทีกันไปเลยแบบจุกๆ! ภายใต้ชื่อแผนกกวีชีช้ำ “The Tortured Poets Department” และ “The Tortured Poets Department: The Anthology” ซึ่งตามธรรมเนียมของเหล่า ‘สวิฟตี้’ เมื่อแม่ขยันสร้างงาน แฟนเพลงก็ขยันวิเคราะห์ไม่แพ้กัน เพราะศิลปินสาย Lyricist อย่างเทย์เลอร์ต้องไม่พลาดที่จะใส่ความหมายลงไปในทุกๆ ตัวอักษรของเธอแน่นอน
.
ทำให้หลายคนไล่อ่านเนื้อเพลงแม่กันแบบคำต่อคำ แต่ผลลัพธ์กลับมีแต่ความสับสน เพราะข้อความต่างๆ ดูมีความคลุมเครือกว่าอัลบั้มอื่น อีกทั้งการสื่อสารของเทย์เลอร์ในอัลบั้มสองชุดนี้ก็มีความ หม่น ดาร์ก ตรงไปตรงมามากกว่าครั้งไหนๆ แฟนเพลงเลยก็เริ่มเอ๊ะว่า หรือการร่ำระบายครั้งนี้จะไม่ใช่เพียงเรื่องความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวครั้งก่อน แต่เป็นการพูดถึง ‘ความทุกข์’ ในฐานะศิลปินของเธอ? รวมถึงความรู้สึกที่เธอมีต่อแฟนคลับที่ทั้งเปี่ยมไปด้วยความยินดีและความอึดอัดในบางคราที่ชีวิตถูกรุกล้ำมากเกินไป
.
วันนี้ The Showhopper เลยขอนำการตีความเหล่านี้มาเล่าให้ทุกคนอ่านเพิ่มฟีลระหว่างสตรีมเพลงแม่ยาวๆ 31 เพลง 📖👀
.
🗨 สื่อใหญ่อย่าง TIME Magazine เผยแพร่บทความวิเคราะห์ (เขียนโดย Moises Mendez II) โดยหยิบยก 2 เพลงจากอัลบั้มนี้มาพูดถึงว่าหลังจากความสำเร็จสูงสุดทางอาชีพจากการขายเวิล์ดทัวร์หมดเกลี้ยงทุกที่นั่ง และการขึ้นแท่นเป็นเศรษฐีพันล้านอย่างเป็นทางการ เธอกำลังเผชิญกับผลพวงที่ได้มาพร้อมชื่อเสียงที่ไม่น่าอภิรมย์นัก
.
💿 เพลงแรกที่ถูกพูดถึงคือ “But Daddy I Love Him,” ที่คาดว่าเล่าถึงชีวิตของเธอช่วงคบหาสั้นๆ กับ Matty Healy (The1975) หลังเลิกรากับ Joe Alwyn 💿
.
“I'll tell you somethin' right now,
I'd rather burn my whole life down,
Than listen to one more second of all this bitchin' and moanin',”
.
(ฉันจะบอกอะไรเธออย่างหนึ่ง ฉันขอเผาชีวิตตัวเองให้มอดไหม้
ดีกว่าต้องทนฟังพวกเธอร่ำร้องหรือก่นด่าเพียงวินาที)
.
🗨 ณ ตอนนั้นมีกระแสเชิงลบตีกลับกับความสัมพันธ์ครั้งนี้ของเธออย่างหนัก เนื่องจากพ่อหนุ่มแมตตี้ไปสร้างเรื่องบนหน้าสื่อไว้หลายอย่าง ทั้งการพูดจาเชิงเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ และแสดงความเห็นทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม แฟนๆ เลยมองว่าหากเทียบกับเทย์เลอร์ที่ถูกชื่นชมเรื่องทัศนคติที่ดีในหลายด้าน ผู้ชายคนนี้ถือว่าไม่ผ่านอย่างมาก ซึ่งบางกระแสถึงขั้นออกมาตั้งคำถามถึงจุดยืนของเทย์เลอร์ ว่าจริงๆ แล้วเธอเป็นคนที่เรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศอย่างที่นำเสนอตัวเองหรือไม่ถึงสามารถคบคนที่มี ‘ชื่อเสีย’ แบบนั้นได้
.
“I'll tell you somethin' 'bout my good name,
It's mine alone to disgrace,
I don't cater to all these vipers dressed in empath's clothing.”
.
(ฉันจะบอกให้ เกี่ยวกับชื่อเสียงอันดีงามของฉัน
มีแค่ฉันคนเดียวที่จะทำมันแปดเปื้อนได้
ฉันขอไม่ให้ค่างูพิษในคราบผู้หวังดี)
.
และท่อน Bridge ที่สุดจี๊ดใจว่า..
.
“God save the most judgmental creeps,
Who say they want what's best for me,
Sanctimoniously performing soliloquies I'll never see,”
.
(พระเจ้าโปรดคุ้มครองพวกชอบตัดสิน
พวกที่บอกว่าอยากให้ฉันได้สิ่งที่ดีที่สุด
นี่เหมือนการแสดงเดี่ยวอันศักด์สิทธิ์ที่ฉันไม่มีวันได้เห็น)
.
และปิดท้ายเพลงแบบแสบๆ ว่า “does a funny thing to pride, but brings lovers closer.” (เรื่องน่าขันที่พวกเธอภาคภูมิใจกัน มันทำให้พวกเรารักกันมากขึ้น)
.
🗨 สิ่งนี้เปรียบเสมือนการขีดเส้นหนาๆ ใส่แฟนคลับหลายคนที่เอาเรื่องส่วนตัวของเธอไป ‘อินเกิน’ ว่าจงปล่อยให้เรื่องของเธอเป็นแค่เรื่องของเธอเถอะ โดยเฉพาะกับความสัมพันธ์ที่เธอตัดสินใจเลือกเอง
.
💿 ต่อมาคือเพลง “Clara Bow” 💿
.
ซึ่งเป็นเพลงโปรดอันดับหนึ่งของผู้เขียนจากอัลบั้มนี้เพราะเทย์เลอร์ใช้การเล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบได้สวยงามมากๆ โดยชื่อเพลงนี้เป็นชื่อของดาราดังจากยุค Classical Hollywood ปลาย 1920s ในตอนนั้น คลาร่าคือนักแสดงหนังเงียบที่ไม่ต่างจากเซเลป ‘It Girl’ ในปัจจุบัน ด้วยแววตาโตชวนฝันปนเศร้าสร้อย ใบหน้าละม้ายคล้ายตุ๊กตา กับพื้นเพการสู้ชีวิตจากเด็กสาวธรรมดาที่เติบโตมากับแม่ผู้มีปัญหาทางจิตใจแต่ก็ฝ่าฟันจนได้เข้ามาในวงการบันเทิง ทำให้เธอเป็นที่รัก และเธอมีหลายอย่างคล้ายกับเทย์เลอร์มาก 🧍♀️🧍♀️
.
แม้จะมีคนรักมากมาย แต่ชีวิตส่วนตัวของเธอกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ เธอกลายเป็นที่ชังของนักแสดงหญิงหลายคนในวงการตอนนั้น เพราะถูกมองว่าเป็นคนเปิดเผยชีวิตส่วนตัวมากเกินไป ต่อมาชื่อเสียงก็ทำร้ายเธอจนทำให้ประสบปัญหาความเครียดและอาการนอนไม่หลับจนต้องใช้ยาและเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดในที่สุด.. “Elaine Shepherd” เพื่อนร่วมวงการพูดถึงการจากไปของคลาร่ากับสำนักข่าว BBC ว่า “ค่ายให้เธอทำงานหนักจนตาย”
.
กลับมาที่เพลง.. เทย์เลอร์เล่าเพลงนี้ด้วยการเปรียบเทียบ 3 ช่วงตอน ในสองช่วงแรกเป็นการเปรียบเทียบศิลปินเหล่านั้นกับตัวเธอเอง เริ่มที่ “Clara Bow”
.
"You look like Clara Bow in this light
Remarkable
All your life, did you know
You'd be picked like a rose
..
I'm not trying to exaggerate
But I think I might die if it happened"
.
(เธองดงามเหมือน “Clara Bow” ตลอดเวลาที่ผ่านมา เธอจะรู้ไหม
ว่าเธอจะถูกเด็ดไปดอมดมเหมือนดอกกุหลาบ
ไม่ได้พูดเวอร์นะ แต่ถ้าฉันเจอแบบเธอ ฉันคงตายไปแล้ว)
.
ต่อด้วยการเปรียบเทียบตนกับ “Stevie Nicks” นักร้องนำจากวง Fleetwood Mac ที่คาดว่าถูกกล่าวถึงจากทั้งความชื่นชมส่วนตัวของเทย์เลอร์และระดับความดังของสตีวี่
.
“You look like Stevie Nicks
In '75, the hair and lips
Crowd goes wild at her fingertips
Half moonshine, a full eclipse
..
No one in my small town
Thought I'd meet these suits in LA,"
.
(เธอดูเหมือน “Stevie Nicks” ในช่วงปี ‘75 ทั้งสีปากและทรงผม
ผู้ชมแทบคลั่งเมื่อเธอทำการแสดง
เหมือนครึ่งหนึ่งของแสงจันทร์ และสุริยุปราคา
ไม่มีใครในเมืองเล็กๆ นั่น เชื่อว่าฉันจะได้มาเซ็นสัญญาที่ LA)
.
แล้วเธอก็ปิดท้ายด้วยการพูดถึงตัวเอง แต่ในรอบนี้เป็นการสื่อความหมายว่า เดี๋ยววันหนึ่งก็จะมีศิลปินหน้าใหม่ถูกเปรียบเทียบกับเธอ และต้องเผชิญกับความโหดร้ายของอุตสหากรรมบันเทิงนี้ไม่ต่างกัน บอกเลยว่าขนลุก!
.
"You look like Taylor Swift
In this light
We're loving it.
You've got edge she never did
The future's bright.. Dazzling."
.
(เธอดูเหมือน “Taylor Swift” แต่ดูกล้าจะท้าทายสิ่งต่างๆ มากกว่าเธอ
อนาคตเธอจะสดใส พร่างพราว)
.
ซึ่งเราต่างรู้ว่ามันไม่ใช่ความพร่าวพราวเลยสักนิดสำหรับเธอ..
.
เรื่อง: เจนจิรา หาวิทย์
.
ที่มา:
- https://people.com/who-is-clara-bow-all-about-actress...
.
#TheShowhopper #TaylorSwift #TTPD #TSTTPD #เทย์เลอร์สวิตฟ์ #เพลงสากล
Comments